ทางเลือกทั้ง 4 แบบในการให้ของขวัญกับลูกค้าเพื่อช่วยในการประหยัดภาษี ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสีย รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราจะต้องเลือกให้เหมาะกับสถานะการณ์ครับ แต่ถ้าให้ผมเรียงลำดับความ Advance จะสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้
➊ ให้ของขวัญผ่านค่ารับรอง แต่ข้อเสียคือจำกัดมูลค่าสูงสุดเพียงแค่ 2,000 บาทต่อครั้ง
➋ ให้ของขวัญผ่านส่งเสริมการขาย ข้อดีไม่จำกัดมูลค่า แต่ข้อเสียคือโดนหัก ณ ที่จ่าย
➌ ให้ของขวัญผ่านของชำร่วย/ของที่ละลึก ข้อดีคือไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย แต่ข้อเสียคือต้องสกรีนชื่อบริษัทหรือโลโก้ในตัวสินค้า และมูลค่าไม่ควรเกินสมควรอีก
➍ ของแถม ผมว่าตัวนี้ดีมากๆเลยไม่ต้องโดนหัก ณ ที่จ่าย ไม่ต้องสกรีนชื่อสินค้า แต่เราจะต้องวางแผน Match ของที่เราจะให้ลงไปในใบกำกับภาษีขายให้ได้ แต่นักบัญชีและเจ้าของกิจการเก่งอยู่แล้วครับ
ที่มา: เพจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจภาษี
-------------------------------------------------------------------------------- จับ-แจกของขวัญปีใหม่ให้พนักงานหากกิจการมีการซื้อของขวัญให้พนักงานจับในเทศกาลปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ หรือ เงินรางวัล เป็นต้น โดยมีการกำหนดไว้ว่าเป็นสวัสดิการแก่พนักงานอยู่แล้ว จะถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการให้แก่พนักงานทุกคน โดยไม่ได้เลือกปฏิบัติ เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีในองค์กร และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงาน
ดังนั้น กิจการสามารถใช้สิทธิทางภาษีได้ โดยต้องคำนึงถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านของกิจการและพนักงานที่ได้รับของขวัญปีใหม่ ดังนี้
– กิจการ (นายจ้าง)
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล นำมาเป็นรายจ่ายได้ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.1 ภาษีซื้อ ในกรณีที่กิจการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อของขวัญจับฉลากปีใหม่ย่อมเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการของกิจการ สามารถนำมาคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (เครดิตภาษีขาย) ไม่ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
2.2 ภาษีขาย เมื่อมีการให้ของขวัญปีใหม่กับพนักงาน จะถือเป็นการขายสินค้า (จำหน่าย จ่าย โอน) กิจการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย)และนำส่งภาษีขายภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่ไม่ต้องทำใบกำกับภาษี ยกเว้นให้ของขวัญปีใหม่เป็นเงิน หรือบัตรกำนัล ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กิจการจำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากพนักงาน เมื่อพนักงานได้รับของขวัญปีใหม่แล้ว ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งปกติกิจการจะเป็นผู้ออกค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับพนักงานอยู่แล้ว โดยกิจการสามารถทำได้ ถ้ากิจการมีสัญญาว่าจะออกค่าภาษีให้ แต่ถ้าหากกิจการไม่มีสัญญาว่าจะออกให้ จะถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม
– พนักงาน (ลูกจ้าง)
ภาษีบุคคลธรรมดา ของขวัญปีใหม่ที่พนักงานได้รับจากการจับฉลากปีใหม่ เมื่อจับได้จะถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน เป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน จึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานผู้ได้รับจะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
แจก ของขวัญ ปีใหม่ให้ลูกค้า
นอกจากปีใหม่จะมีการสังสรรค์จับฉลากกันภายในองค์กรแล้ว ในทุกๆ ปี กิจการจะต้องมีการนำกระเช้าของขวัญหรือของชำร่วยไปสวัสดีปีใหม่ มอบให้กับลูกค้าผู้ให้การสนับสนุนกันมาตลอดทั้งปี ของขวัญที่นำไปมอบให้กับลูกค้าดังกล่าว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามกฎหมายแล้วกระเช้าของขวัญหรือของชำร่วยที่ให้แก่ลูกค้า ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม แต่สามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้ โดยต้องเป็นค่ารับรองตามหลักเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด ดังนี้
– เป็นการให้ของขวัญ หรือรายจ่ายตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป หรือเทศกาลสำคัญต่างๆ
– เป็นการจ่ายรับรองให้กับบุคคลภายนอก
– ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ และมีหลักฐานการจ่ายอย่างถูกต้อง
– ค่าสิ่งของที่กิจการนำค่าใช้จ่ายไปหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ถ้าเป็นสิ่งของราคาต้องไม่เกิน 2,000 บาท ต่อชิ้น(รวม VAT) และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 0.3% ของยอดรายได้ ยอดขาย หรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ขึ้นอยู่ที่ว่ายอดไหนมากที่สุด และต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.1 ภาษีซื้อ ของขวัญหรือของชำร่วยที่กิจการมอบให้ลูกค้าเพื่อสวัสดีปีใหม่ จัดเป็นภาษีซื้อต้องห้ามเพราะทางกฎหมายถือเป็นค่ารับรอง จึงไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้ แต่สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายค่ารับรองได้
2.2 ภาษีขาย ในกรณีที่กิจการนำของขวัญ หรือของชำร่วยไปมอบให้ลูกค้าเพื่อสวัสดีปีใหม่ ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ถือเป็นการขายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำมูลค่าของขวัญดังกล่าวไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมออกใบกำกับภาษี
ยกเว้นแต่ว่าของขวัญหรือของชำร่วยเหล่านี้ เข้าเงื่อนไขเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
– ต้องเป็นของขวัญหรือของชำร่วยที่เป็นสินค้าจำพวกปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน โดยมีชื่อของผู้ประกอบการ ชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการปรากฏอยู่
– มูลค่าของขวัญหรือของชำร่วยที่มอบให้ลูกค้า จะต้องมีราคาไม่สูงเกินสมควร
ทั้งนี้ กิจการสามารถมอบของขวัญที่มีราคาสูงให้แก่ลูกค้าได้ แต่ต้องเสียภาษีมูลเพิ่ม
3.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ของขวัญหรือของชำร่วยที่กิจการมอบให้แก่ลูกค้า เพื่อสวัสดีปีใหม่ตามประเพณี ถือว่าเป็นการขายสินค้า กิจการไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
สรุป
เมื่อมาถึงตรงนี้ สำหรับ “ภาษีของขวัญปีใหม่” ทั้งแบบที่กิจการซื้อมาเพื่อจับฉลากแจกให้กับพนักงาน และแบบที่มอบให้กับลูกค้าตามประเพณี ภาษีที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษคือ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” เพราะมีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยค่อนข้างซับซ้อน
ดังนั้น แนวทางการประหยัดภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้คือ
– กิจการควรเลือกให้รางวัลจับฉลากปีใหม่ เป็นเงินหรือบัตรกำนัลกับพนักงานแทนของขวัญ เนื่องจากเงินไม่ถือเป็นสินค้า จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
– ของขวัญหรือของชำร่วยที่มอบให้กับลูกค้า กิจการควรเลือกราคาหรือมูลค่าของขวัญที่ไม่สูงเกินสมควร เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ของขวัญกับการเสียภาษี
คำถาม : ซื้อกระเช้าของขวัญแจกลูกค้าในเทศกาล นำภาษีซื้อมาขอเครดิตได้หรือไม่คำตอบ : ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อกระเช้าของขวัญมาแจกหรือให้เป็นของขวัญแก่ลูกค้าเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ โดยมีนามบัตรของบริษัทที่ระบุชื่อ ที่อยู่ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทติดที่กระเช้าของขวัญดังกล่าว เป็นภาษีซื้อต้องห้ามมิให้นำไปหักออกจากภาษีขาย ตามมาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากรและ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) ส่วนภาษีขาย หากกระเช้าของขวัญดังกล่าวเป็นสิ่งของที่บริษัทพึงให้แก่ลูกค้าตามประเพณี ทางธุรกิจทั่วไปและมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควรแล้ว บริษัทไม่ต้องนำมูลค่าของกระเช้าดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากรและ ข้อ 2(6) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)
คำถาม : บริษัทแจกของขวัญให้ลูกค้า บริษัทนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าไรที่สรรพากรจะไม่ต้องให้มาบวกกลับและนำมาเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่
คำตอบ : 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าใช้จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราว ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522) 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญแจกเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตาม มาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากรและ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
คำถาม : บริษัทให้เช็คของขวัญกับพนักงาน ถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ได้หรือไม่คำตอบ : ถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาต้องห้าม ตาม มาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร
คำถาม : บริษัทจ้างทำ ส.ค.ส. โดยให้ ใส่โลโก้ของบริษัท ถามว่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่คำตอบ : หากผู้รับจ้างมิได้ผลิตขายเป็นปกติทั่วไป แต่เป็นการผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่งสินค้าจะมีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า โดยเมื่อผลิตสินค้าเสร็จแล้ว ลูกค้าตกลงจะยอมรับสินค้าที่ตรงตามคำสั่งของตนเท่านั้น กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ผู้ว่าจ้างจึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้ให้บริษัทในอัตราร้อยละ 3 ตาม ข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/25428ฯ แต่หากเป็นการผลิตขายเป็นปกติทั่วไปอยู่แล้ว การจ่ายเงินได้ดังกล่าวจะถือเป็นการซื้อสินค้า ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ที่มา ของขวัญกับการเสียภาษี
📞0946866356 📍www.makkth.com LINE ID: @makk
Comments